นทท.ขึ้นถ้ำพระยานคร ชมแสงสาดส่องลง”พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” สวยงาม

by Kodangkhao

“พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ในถ้ำพระยานคร” อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่มาพักผ่อนในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยไฮไลท์ก็คือแสงที่ส่องผ่านโพรงถ้ำด้านบนลงมากระทบกับ “พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” ทำให้เกิดความสว่างไสวไปทั้งถ้ำและบริเวณพระที่นั่งฯเมื่อถูกแสงกระทบก็จะเปล่งประกายเป็นสีเหลืองทอง เพียง 1 ชั่วโมงระหว่างเวลา 10.00-11.00 น. สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มารอชมเป็นอย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด บอกว่า 1 ปีมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นซึ่งคาดว่าจะมีไปจนถึงช่วงปีใหม่

ในช่วงวันหยุด 3 วันและต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาพักผ่อนและท่องเที่ยวตามอำเภอต่างๆในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสถานที่หนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวนั้นก็คือ “พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ในถ้ำพระยานคร” ซึ่งขึ้นอยู่ในเขตความรับผิดชอบอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นักท่องเที่ยวพากันเดินเท้าเพื่อขึ้นไปยัง”ถ้ำพระยานคร”ซึ่งมีความสูงจากพื้นด้านล่างไปจนถึงบริเวณภายในถ้ำรวม 530 เมตร โดยการเดินขึ้นไปต้องใช้เวลา 45นาทีถึง 1 ชั่วโมง ภายในเป็นที่ประดิษฐานของ” พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์”

นักท่องเที่ยวที่เดินขึ้นไปถึง กล่าวว่าแม้จะเหนื่อยก็ตามแต่เมื่อเดินขึ้นไปและลงไปในบริเวณโถงถ้ำขนาดใหญ่ ก็รู้สึกได้ว่าอากาศเย็นสบาย โดยเฉพาะสิ่งสำคัญได้มีโอกาสเห็นแสงที่สาดส่องลงมาจากปล่องด้านบนลงมายัง “พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” สว่างเจิดจ้าสวยงามมากทำให้ตัวพระที่นั่ง เปล่งประกายสีเหลืองทอง โดยทราบจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ที่ประจำอยู่ในถ้ำว่า 1 ปีมีเพียงช่วงเดือนธันวาคม เท่านั้นที่จะได้เห็นแสงที่ส่องตรงลงมาซึ่งรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่ง และรู้สึกว่าโชคดีเพราะแสงที่ส่องลงมาในช่วงนี้จะเป็นช่วงเกือบ10 โมงเช้าที่นักท่องเที่ยวจะได้เห็นไปจนถึงประมาณ 11 โมงเช้า

โดยนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติส่วนใหญ่ ที่เดินขึ้นมาถ้ำพระยานคร มีทั้งทราบว่าในช่วงนี้ตอนเช้าจะมีแสงส่องลงมาตรง“พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” บางส่วนก็ไม่ทราบมาก่อนแต่เมื่อขึ้นมาแล้วมีเจ้าหน้าที่แนะนำ โดยส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะใช้เวลาดูแสงกันตั้งแต่เริ่มที่จะสาดส่องลงมาจนครอบคลุม“พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์”และต่างก็พากันถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึก
นายพงศธร พร้อมขุนทด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด กล่าวว่า“พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” พลับพลาจตุรมุขเปิดโล่งทำด้วยไม้สัก มีช่อฟ้า ใบระกา พระที่นั่งองค์นี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างในปี พ.ศ. 2433 เพื่อเป็นที่ประทับในคราวเสด็จประพาสต้น ในถ้ำที่กำแพงหินด้านขวามือ มีพระปรมาภิไธยย่อ รัชกาลที่ 5,รัชกาลที่ 7,และรัชกาลที่ 9 เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่สีขาว ทั้ง 3พระองค์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยไว้เป็นที่ระลึกในครั้งที่เสด็จประพาสถ้ำแห่งนี้ ตามประวัติที่มีการติดตั้งไว้ซึ่งภายในถ้ำมีความสวยงดงามงามมีปล่องแสงส่องผ่านจากด้านบนลงมา

ซึ่งอยากเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปเที่ยวชมกัน โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนธันวาคม ปีนี้แสงได้สาดส่องผ่านโพรงถ้ำขนาดใหญ่จากด้านบนลงมาคลุม“พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์”ซึ่งอยู่บนเนินดินโดยข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ซึ่งปรำจำอยู่ในถ้ำพระยานคร ได้มีการจุดข้อมูลในแต่ละวันจนถึงวันนี้พบว่าแวงจะลงมาตั้งแต่เวลา 09.30.น และไปคลุมพระที่นั่งจนเต็มในเวลาประมาณ 10 โทงข้าวของทุกวันในช่วงนี้และแสงจะขยับเลื่อนออกจาพระที่ออกไปประมาณ 11.00 น. ซึ่งคาดว่าจะสามารถชมได้ไปจนถึงช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งในรอบ 1 ปีจะมีเพียงเดือนธันวาคม เท่านั้นส่วนเดือนอื่นๆและส่องลงมาบ้างแต่จะไม่เค็มตัวพระที่นั่ง โดยนักท่องเที่ยวที่ขึ้นมาแล้วก็จะได้เรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของ”ถ้ำพระยานคร”ไปด้วยเพราะมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

ซึ่งจากการเก็บสถิติของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ตั้งแต่เดือนตุลาคมปี2564 –เดือนพฤศจิกายน 2565 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด เป็นชาวไทย 1 แสนห้าพันคน และเป็นชาวต่างชาติ 3 หมื่นสี่พันคน ซึ่งคาดว่าแนวโน้มนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงเทศกาลปีใหม่ เนื่องจากสถานการณ์โควิดที่คลี่คลายลงไปมากแล้ว ซึ่ง”ถ้ำพระยานคร”จะเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวเจ้าเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ส่วนรองลงมาเป็นการนั่งเรือล่องคลองเขาแดง และนั่งเรือชมบึงบัวในทุ่งสามร้อยยอด ทั้งนี้ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม เป็นต้นมามีนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวถ้ำพระยานคร วันละ 400-500 คนในช่วงวันหยุด อัตราสัดส่วนเฉลี่ยคนไทยประมาณ 80 ที่เหลือเป็นชาวต่างชาติ

You may also like

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของคุณ เราจะถือว่าคุณโอเคกับเรื่องนี้ แต่คุณสามารถเลือกไม่รับได้หากต้องการ ตกลง Read More